การขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่
♦ แนวทางการดำเนินงานการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่
♦ พื้นที่เป้าหมายการขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่
♦ คำสั่ง SEDZ จังหวัดหนองบัวลำภู
♦ การขับเคลื่อนแนวทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่
วัตถุประสงค์สำคัญ | |
เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา พื้นที่ประสบปัญหาภัยพิบัติซ้ำซาก และใช้โอกาสจากภาคแรงงานที่มีทักษะและศักยภาพที่ประสบกับปัญหาการเลิกจ้างจากสถานการณ์โควิด-19 ที่กลับไปยังบ้านเกิด เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการให้ความรู้ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงหรือทฤษฎีใหม่ ควบคู่กับการศึกษาถึงรากเหง้าภูมิปัญญาดั้งเดิม และเพิ่มพูนด้วยชุดความรู้ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาของพื้นที่และภูมิสังคม เพื่อพัฒนาหรือยกระดับเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยโมเลเศรษฐกิจใหม่ เพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามขอบเขตการดำเนินงาน 9 กิจกรรม ประกอบด้วย | |
1. การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย/พื้นที่ปฏิบัติการ | |
2. การพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่เป้าหมาย/พื้นที่ปฏิบัติการ | |
3. การบ่มเพาะพัฒนาบุคลากร 7 ภาค และเร่งสร้างผู้ประกอบการใหม่ | |
4. การสร้างงานสร้างรายได้แก่ชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก | |
5. ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงประจักษ์ผ่านการฝึกปฏิบัติร่วมในรูปแบบจิตอาสาพัฒนาและจิตอาสาภัยพิบัติ | |
6. การต่อยอดผลผลิตเพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกับภาคเอกชน ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) | |
7. การจัดทำแพลตฟอร์มขับเคลื่อนโมดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ | |
8. การสร้างนวัตกรรมจากฐานการวิจัยเพื่อพัฒนาตลาดและธุรกิจในพื้นที่ | |
9. การสร้างการรับรู้และจดจำ สร้างการสื่สารสังคมเชิงรุก | |
แนวทางการเลือกพื้นที่ปฏิบัติการ | |
**พื้นที่มความพร้อมในการดำเนินงานได้ทันที เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ โดยได้รับความยินยอม/อนุญาตให้ใช้พื้นที่ตามระเบียบ/กฏหมายที่เกี่ยวข้อง | |
**กรณีภาคเอกชน/ประชาชน/องค์กรศาสนา/ภาควิชาการ สถาบันการศึกษา จะเข้าร่วมโครงการ ต้องยินยอมให้ใช้พื้นที่ และจดทะเบียนการใช้ประโยชน์ร่วกับสำนักงานที่ดินอย่างถูกต้องครบถ้วน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี (นับแต่วันที่กระทรวงมหาดไทยได้รับการจัดสรรงบประมาณ) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวทางดังกล่าว | |